• Home
  • About Norakaa

Norakaa.com

เขียนไปเรื่อย

technology

โลกเปลี่ยนไปเมื่อใจเปลี่ยนแปลง

July 26, 2014 by norakaa

เมื่อเกือบสิบปีที่แล้วได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนึงชื่อว่า The world is flat หรือในชื่อไทยว่า ใครว่าโลกกลม เป็นหนังสือที่เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังจากที่เทคโนโลยีอินเตอร์เนตได้เริ่มแพร่หลาย และเล่าถึงคอนเซปของขั้วของพลังที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่เป็นประเทศ ไปสู่บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ และสุดท้ายก็กลายเป็นบุคคลทั่วไป ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ [อ่านต่อ…]

Posted in: เวิ่นเว้อ Tagged: creative, creativity, modernize, technology, world

Robot Combat League : รายการสำหรับ Nerd เลยนะเนี่ย

March 1, 2013 by norakaa

734609_310760565714038_1835920509_n

อาทิตย์ก่อนตอนกำลังนั่งหาข้อมูลบนเนต (จริงๆคืออู้งานนั่นแหละ) ก็มีโฆษณาโผล่ขึ้นมาบน news feed ของเฟสบุค เป็นรายการทีวีใหม่ออกทางช่อง Syfy (ช่องอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้จัก) ชื่อรายการว่า Robot Combat League แหม่ แค่ชื่อก็กระตุกต่อม nerd แล้วนะ ลองเข้าไปดูเฟสบุคของรายการนี้ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/RobotCombatLeague

กติกาการแข่งขัน จะต่อสู้กัน 3 ยก ยกละ 2 นาที มีกรรมการ 3 คนคอยให้คะแนนพร้อมสามารถสั่งเบรคได้ถ้าหุ่นมันจะพัง :p

ลักษณะรายการเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก โดยมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 12 ทีม แต่ละทีมจะมี Robot Jockey กับ Engineer ร่วมมือกัน เท่าที่ดูคร่าวๆเหมือน Jockey จะควบคุมการต่อสู้ ส่วน Engineer จะดูการเคลื่อนไหว + ซ่อมบำรุง แล้วแต่ละทีมก็จะได้รับหุ่นที่ไม่เหมือนกันตั้งแต่แรก และไม่มีสิทธิเลือกหุ่น

69631_295855317204563_135210230_n

คือ ที่ชอบเนี่ย เพราะผมเชื่อว่าทุกคนคงมีความฝันอยากเห็นการต่อสู้ของหุ่นยนต์มาตั้งแต่เด็กแล้วแหละ สิ่งที่เติมเต็มจินตนาการได้มันก็พอมีนะ พวกหนัง การ์ตูน หรือไม่ก็พวกเกม แต่ว่ามันก็ยังไม่สะใจเท่าของจริงแน่ๆอะ แต่ก็แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยีสมัยก่อนมันทำยาก แต่พอมายุคปัจจุบัน เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมาก อะไรๆมันก็ง่ายขึ้นเยอะ

530585_297366760386752_581285309_n

สมัยก่อนก็เคยมีหุ่นยนต์จริงๆสู้กันนะ แต่ตอนนั้นหุ่นจะเป็นเหมือนรถบังคับน่ะ แล้วก็ติดอาวุธมาสู้กัน สมัยนั้นก็ว่าสนุกแล้วนะ แต่มายุคนี้นี่แบบว่า เป็น Humanoid บังคับด้วยแขนกลแล้วแบบ โอยยย เจ๋งอะ ดีขึ้นเยอะเลย >_<

อนาคตนี่ ถ้าเทคโนโลยีหุ่นยนต์พัฒนามากกว่านี้ อาจเห็นอะไรคล้ายๆกับเรื่อง Real Steel ก็ได้นะใครจะไปรู้ 😀

ลองดูตอนแรกของรายการนี้ได้ที่นี่ 

11398_309862529137175_2104588937_n

Posted in: Uncategorized Tagged: combat, engineer, entertainment, fight, gaming, humanoid, machine, robot, science, sports, technology, tv, tv program

Future of music : Prosumer Take Center Stage

February 7, 2013 by norakaa

วันนี้นั่งเล่นเนตหาข้อมูลเอาไปทำงาน (พูดให้ดูดีไปงั้น จริงๆคืออู้งานนั่นเอง) แล้วพบวีดีโออันนึงน่าสนใจมาก เขาพูดถึงเรื่องอนาคตของการสร้างบทเพลงในยุคอนาคต(จริงๆตอนนี้ก็เป็นแล้วนะ)

เขาบอกว่า โลกดนตรีเนี่ย ผู้คนที่เป็น Prosumer กำลังจะเป็นผู้ที่มีบทบาทเด่นที่สุดในยุคนี้และยุคหน้า ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่ส่งเสริมให้คนเหล่านี้สามารถแสดงความสามารถออกมาได้ง่ายขึ้น แจกจ่ายผลงานได้ง่ายขึ้น โปรโมตผลงานได้ง่ายขึ้น มีตัวตนในโลกได้ง่ายขึ้น และสุดท้าย เขาสามารถขายผลงานได้ง่ายขึ้น

Prosumer คือใคร??

Prosumer = Producer + Consumer คือ คนธรรมดานี่แหละ ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพโดยตรงกับการผลิตผลงานพวกนี้ แต่มีฝีมือและสามารถทำงานเจ๋งๆออกมาได้ พวกเขาเสาะหาเทคโนโลยีและวิธีการใหม่ๆในการผลิตผลงานให้มีคุณภาพทัดเทียมกับผลงานของระดับโปร ด้วยต้นทุนที่เขาสามารถทำได้

ปัจจัยอะไรที่ทำให้ Prosumer มีบทบาทเด่น?

ปัจจัยมีเยอะมากเลยนะที่ทำให้คนๆนึงผลิตผลงานได้น่ะ เริ่มตั้งแต่ฝึกเล่นดนตรีเลยก็ได้ ยุคนี้หลายๆคนก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียนดนตรีตามโรงเรียนเลย เครื่องดนตรีหลายๆเครื่องสามารถฝึกเล่นเองได้โดยการใช้วีดีโอจากยูทูป (ผมเองก็ฝึกเบสจากยูทูปนะ) รวมถึงหาอ่านทฤษฎีดนตรีได้จากเว็บต่างๆ โหลดแบบฝึกหัดมาฝึกเอง ฯลฯ คือทุกอย่างมันง่ายขึ้น หลายๆอย่างแจกฟรี เรียนได้สบายๆ (และหลายๆอย่างแจก crack :p)

พอจะเริ่มมาทำเพลงเอง อุปกรณ์ในการทำยุคนี้ก็ง่ายขึ้นเยอะ มีคอมตัวนึง + audio interface ที่ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 2000 บาท พร้อมซอฟท์แวร์ทำเพลง แค่นี้ก็เริ่มต้นได้แล้ว แถมซอฟแวร์หลายๆตัวเองก็ทำมาแจกฟรี พร้อมคุณสมบัติที่พอจะทำงานระดับเจ๋งๆได้เลย (ตัวอย่างเช่น Samplitude silver ที่เป็น DAW พร้อมใช้งาน ก็มีแจกฟรีจากเว็บ Soundcloud ) รวมไปถึง plug-in กับ samp ต่างๆ ที่มีทั้งแจกฟรี และขายราคาถูกให้เลือกได้เยอะแยะมากบนเนต (แน่นอนว่ามีพวก crack แจก ฮิฮิ)

การแจกจ่ายนี่ยิ่งง่ายเลย เว็บที่เป็นเครือข่ายสังคมนี่แหละคือคีย์สำคัญ ทั้ง youtube, facebook, twitter, soundcloud ฯลฯ พวกนี้เปิดพื้นที่ให้แจกจ่ายผลงานได้สบายๆ แชร์ได้ง่ายหรือแม้กระทั่งจะขายผลงานของตัวเองก็สามารถทำได้ง่ายผ่านแพลตฟอร์มบนเนตเช่น iTunes ก็ทำได้ ไม่ต้องไปง้อใคร

การร่วมมือกันผลิตผลงานก็เป็นสิ่งที่เกิดง่ายขึ้นมากในยุคนี้ ยกตัวอย่างที่ญี่ปุ่นนี่ เขาจะมีสังคมของการเล่นดนตรีปิดหน้า คืออัดคลิปการเล่นดนตรีลง youtube นี่แหละ แต่ก็จะปิดหน้าตัวเอง โชว์แต่ฝีมือ ซึ่งแต่ละคนนี่เมพมากๆ อย่างที่ผมรู้จักก็ Tissue Hime คนนี้เล่นเบสเทพมาก จนสุดท้ายก็ได้รวมตัวกันในเว็บบอร์ด อัดเพลงกันผ่านเนตออกมาเป็นประมาณนี้

โหดสึด

แล้ว Prosumer เมืองไทยล่ะ?

ตอบตรงๆคือ ไม่รู้ 5555 แต่ก็เห็นสัญญาณที่ดีเยอะนะ มีร้านที่นำเข้าอุปกรณ์ทำเพลงเจ๋งๆมาขายเยอะเลย เช่น Proplugin หรือ Kimleng Audio ฯลฯ ซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ดี ว่าตอนนี้อุปกรณ์คุณภาพสูง ราคาถูกๆ เริ่มเอาเข้ามาขายแล้ว เหลือแต่ทำมาโชว์กันนี่แหละ 😀

แถมการทำพื้นที่ให้โปรโมตกันแล้วนะ เช่นเพจ Bandzooka ที่เปิดพื้นที่ให้คนที่อยากโชว์ผลงานได้เอาผลงานมาโชว์ หรือเพจ BedroomStudio ของคลื่น FAT ก็เปิดโอกาสให้โชว์ผลงานได้เช่นกัน นับว่าเป็นสิ่งดีเลยแหละ 😀

ปิดท้ายด้วยงานที่ทำกันเองกับเพื่อนๆ ทำเพลงกันในห้องนอนนี่แหละ สนุกดี 😛 (Hard sale ตอนจบซะงั้น 555)

Posted in: Music Tagged: bedroom studio, low cost, music, production, prosumer, social media, technology, video

คู่มือเล่น ingress เบื้องต้น

January 28, 2013 by norakaa

คู่มือฉบับนี้นั้นทำการคัดลอกมาจากเว็บไซท์ Blognone ท่านสามารถไปอ่านตัวต้นฉบับได้ที่นี่ โดยผู้เขียนคือคุณ MK ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ 😀

ingressเมื่อปลายปีที่แล้ว ทีมผลิตภัณฑ์ทีมหนึ่งของกูเกิลที่ชื่อ NianticLabs ได้เปิดตัวเกมพกพา Ingress สู่สาธารณะ (ข่าวเก่า: Ingress เกมยึดโลกจาก Google) และได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

Ingress เป็น “เกม” ลูกผสมระหว่างแนวคิดเรื่อง location-based service, augmented reality และ massively multiplayer online ที่ใช้อุปกรณ์พกพา (ปัจจุบันยังมีแค่ Android) เป็นอุปกรณ์ในการเล่น (แนวคิดของตัวเกมไม่ซับซ้อนแต่อธิบายลำบากหน่อย ซึ่งจะกล่าวต่อไป)

ตั้งแต่เปิดตัวเกมมาจนถึงวันนี้ Ingress ยังเป็นเกมปิดที่ต้องมี invite จึงจะเล่นได้ เท่าที่ผมสังเกตดู ช่วงหลังเริ่มมีคนได้ invite เยอะขึ้นเรื่อยๆ จึงคิดว่าได้เวลาเขียน “คู่มือสอนเล่น Ingress” เพื่อให้ผู้เริ่มต้นสามารถจับจุดของเกมได้รวดเร็วขึ้นครับ

Ingress คืออะไรกันแน่

เนื่องจากแนวคิดของ Ingress ใหม่มากและยังไม่มีศัพท์เรียกเฉพาะ ถ้าให้อธิบายแบบเปรียบเทียบ ผมขอใช้คำว่ามันคือ “Foursquare แบบมีฐานให้ยึด” น่าจะใกล้เคียงที่สุด

Ingress เป็นเกม MMO ที่คนทั้งโลกเล่นร่วมกันในเซิร์ฟเวอร์เดียว (ไม่แยกเซิร์ฟเวอร์เหมือน MMO ทั่วไป) ผู้เล่นแบ่งเป็นสองฝ่าย แข่งกันยึด “ฐาน” ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แผนที่ของเกม Ingress คือแผนที่โลกจริงๆ (นำมาจาก Google Maps) แต่เพิ่มไอเทมหรือฐานที่เห็นได้เฉพาะจากแอพลงไปบนแผนที่ด้วย

จุดเด่นของ Ingress คือตัวเกมออกแบบมาให้ผู้เล่นแต่ละฝ่ายในพื้นที่นั้นๆ ต้องร่วมมือกันเพื่อยึดฐานมาเป็นของฝ่ายตัวเอง ช่วยขยายขีดจำกัดของการเล่นได้อีกมาก

เนื้อเรื่องในเกม

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแหล่งพลังงานลึกลับชนิดใหม่ ทำให้ประชากรโลกมีความเห็นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย

  • Enlightened ฝ่ายที่ต้องการใช้พลังงานนี้ปรับเปลี่ยนมนุษยชาติไปสู่ยุคใหม่ (ในเกมใช้สีเขียว)
  • Resistance ฝ่ายที่ต่อต้านแนวคิดของ Enlightened และต้องการปกป้องมนุษย์ในปัจจุบันเอาไว้ (ในเกมเป็นสีฟ้า)

แต่ละฝ่ายจึงระดม “สายลับ” หรือ agent (หมายถึงผู้เล่น) เข้ามาสนับสนุนแนวทางของตัวเองให้มากที่สุด โดยมีหน่วยงานกลางชื่อ Niantic Project เปรียบเสมือน FBI หรือ CIA คอยสืบค้นข้อมูลของแหล่งพลังงานลึกลับ เพื่อให้เนื้อเรื่องในเกมเดินหน้าไปเรื่อยๆ (ในการเล่นจริงไม่ต้องสนใจเนื้อเรื่องก็ได้)

อุปกรณ์ที่สายลับใช้ในการยึดครองฐานก็คือ “โทรศัพท์มือถือ” ที่อยู่ในมือของผู้เล่นนั่นเอง ส่วนฝ่ายทั้งสองในเกมไม่มีความแตกต่างกันใดๆ นอกจากสีและชื่อเรียก ชอบสีไหนหรืออยากอยู่ฝ่ายเดียวกับเพื่อนคนไหน เลือกได้ตามสบาย

เทรลเลอร์ของเกมดูได้จากวิดีโอด้านล่างครับ

ทำอย่างไรจึงจะได้เล่น Ingress

ณ วันที่เขียนบทความนี้ (18 มกราคม 2013) การเล่น Ingress จำเป็นต้องขอ invite จาก NianticLabs เท่านั้น

ผู้สนใจต้องเข้าไปที่เว็บของ Ingress และป้อนที่อยู่อีเมลเพื่อขอ invite จากนั้นก็รอแบบมีความหวังเรื่อยไป ไม่มีใครบอกได้ว่า invite จะได้เมื่อไร แต่ทาง Niantic ก็ทยอยแจกเรื่อยๆ อยู่ทุกวัน

ถ้าอยากเล่นเร็วๆ อาจต้องขอ invite จากผู้เล่นที่มีโควต้าเหลือ (ซึ่งไม่ค่อยมีกัน) หรือเรียกร้องความสนใจจากทีม Ingress โดยโพสต์ “รูปภาพแสดงความอยากเล่น” ผ่าน Google+ ไปยัง +Ingress หรือใส่แท็ก #ingressinvite ซึ่งทีมงาน Ingress จะคัดรูปที่น่าสนใจแล้วแจก invite เป็นประจำทุกวัน (ดูตัวอย่างได้ตามลิงก์)

เมื่อได้ invite code แล้วก็ไม่มีอะไรยาก เข้าไปดาวน์โหลดแอพที่ Google Play ติดตั้งแล้วเริ่มเล่นได้ทันที

นับจากนี้ไปเป็นวิธีการเล่นสำหรับคนที่ได้ invite แล้วนะครับ (ตอนเริ่มเกมมี tutorial ให้ด้วยแต่อ่านเวอร์ชันภาษาไทยประกอบแล้วกัน)

หน้าตาของแอพ

หน้าจอหลักของแอพ Ingress เป็นดังภาพ (ภาพจากเว็บ Ingress)

ingress-basic

แอพ Ingress บนมือถือทำหน้าที่เป็น “สแกนเนอร์” ให้ผู้เล่นเห็นว่าพื้นที่รอบๆ ตัว ณ ขณะนั้น มีไอเทมอะไรบ้างของเกมอยู่ในรัศมีที่มองเห็น

มุมมองของผู้เล่นในแอพ Ingress จำกัดมาก เราสามารถซูมออกได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น เห็นได้แค่พื้นที่รอบๆ ตัวในรัศมีจำกัด จุดมุ่งหมายก็คือเกมนี้ต้องการให้เรา “เดิน” สำรวจพื้นที่ด้วยตัวเองนั่นเอง

ถ้าเรายังไม่สนใจแถบด้านบนและด้านล่าง พื้นที่หลักของแอพ Ingress คือ “แผนที่” (ที่พื้นหลังสีดำ) ซึ่งจะแสดงสิ่งของสำคัญในเกม 2 อย่าง ได้แก่

  • ก้อนพลังงาน หรือ exotic matters (XM) จุดเล็กๆ สีขาวในภาพ เป็นเหมือนการเก็บแร่ในเกม RTS ทั้งหลาย คือเป็นพลังงานให้เราปฏิบัติการต่างๆ ในเกม
  • ฐาน หรือ portal เป้าหมายหลักของเกมนี้ ในภาพเป็นเปลวแสงสีน้ำเงินหรือเขียว (ขึ้นกับว่าตอนนั้นถูกฝ่ายไหนยึดเอาไว้)

ตัวผู้เล่นใช้สัญลักษณ์เป็นลูกศรสีน้ำเงิน พร้อมรัศมีสีฟ้าอ่อนเพื่อแสดงว่าเรามีอำนาจปฏิบัติการไกลแค่ไหน ส่วนหน้าที่ของผู้เล่นคือเดินเก็บก้อนพลังงานให้เพียงพอ แล้วไปปฏิบัติการสักอย่างกับฐานนั่นเอง (จะกล่าวต่อไป)

แถบสีเหลืองด้านบนสุดของหน้าจอคือพลังงานที่เรามีในตอนนั้น เลข 4 คือระดับของผู้เล่น ส่วน Ops เป็นปุ่มกดเพื่อเข้าหน้าจอไอเทม กดแล้วจะเห็นหน้าจอดังภาพ

ingress-ops

แถบด้านล่างที่เขียนว่า COMM คือระบบสื่อสารภายในเกม ซึ่งเป็นการส่งข้อความแบบ broadcast ไปยังผู้เล่นในพื้นที่เดียวกัน เพื่อให้ช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุนเราได้

ingress-comm

ตัวแอพ Ingress เรียบง่ายมาก หน้าจอหลักมีเพียงแค่ 3 จอนี้ ที่เหลือเป็นเรื่องแนวคิดต่างๆ ของเกมแล้ว

Exotic Matter (XM)

Exotic Matter หรือ XM คือก้อนพลังงานของเกมนี้ งานเกือบทุกอย่างในเกมต้องใช้พลังงานนี้เสมอ ก้อนพลังงานจะตกกระจายอยู่ทั่วไปในแผนที่ (ส่วนใหญ่อยู่ตามแนวถนน) หาเก็บได้ไม่ยาก

พลังงานที่ผู้เล่นสามารถเก็บได้มีขีดจำกัด (ซึ่งขยายเรื่อยๆ ตามเลเวลของผู้เล่น) หมดแล้วต้องมาเก็บใหม่ถึงจะเล่นต่อได้ พลังงานที่เราเคยเก็บไปแล้วจะหายไปพักหนึ่งแล้วโผล่ขึ้นมาใหม่ในบริเวณเดียวกัน

Action Point (AP)

Action Point หรือ AP คือค่าประสบการณ์ของผู้เล่น มันคือ EXP แบบเดียวกับเกม RPG ญี่ปุ่นนั่นเองครับ เราจะเก็บ AP ได้จากปฏิบัติการบางอย่าง (ไม่ใช่ทุกอย่าง) และเก็บครบแล้วก็เลเวลอัพขึ้น ใช้ไอเทมได้มากขึ้นตามเลเวลของไอเทม

Portal

Portal อาจเรียกเป็นภาษาไทยได้ว่า “ฐาน” หรือ “ป้อม” เป็นแกนหลักของเกม Ingress เพราะทุกอย่างที่เราทำในเกม ถ้าไม่นับการเดินเก็บ XM แล้วต้องเกี่ยวข้องกับ Portal ด้วยกันทั้งสิ้น

เป้าหมายหลักของเกม Ingress คือยึด Portal มาเป็นของฝ่ายเรา และเชื่อม Portal เข้าด้วยกันเพื่อสร้าง “อาณาเขต” (ในเกมเรียก Control Field) ที่เป็นของฝ่ายเรา ในเกมจะมีสถิตินับว่าแต่ละฝ่ายสามารถยึดครองอาณาเขตได้มากน้อยเท่าไร (ตัวเลขรวมทั้งโลก)

ค้นหา Portal

ผู้เล่นใหม่มักมีคำถามว่า “จะค้นหา Portal ได้อย่างไร” ทางผู้สร้างเกมมีตัวช่วยครับ นั่นคือเว็บไซต์ชื่อว่า Ingress Intel (เข้าได้เฉพาะผู้มี invite แล้ว) เป็นแผนที่เพื่อดูว่า “ทั้งโลก” มี Portal อยู่ตรงไหนบ้าง

หน้าตาของ Ingress Intel เป็นไปตามภาพ

ingress-intel

หลายคนเห็นแล้วคงรู้สึกว่านี่มัน Google Maps สีดำชัดๆ สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือจุดสีฟ้าและเขียวในภาพ แสดงตำแหน่งของ Portal และถ้าสังเกตดีๆ ในภาพระหว่างจุดสีฟ้าบางอัน จะถูกไฮไลท์เป็นสีน้ำเงินด้วย นั่นคือ Control Field ที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายสีฟ้านั่นเองครับ

การค้นหา Portal สามารถดูได้จากแผนที่นี้ ตัว Portal เองมีเลเวลของมันเอง และการค้นหา Portal เลเวลต่ำๆ ต้องซูมไปจนถึงความละเอียดระดับหนึ่งจึงจะแสดงบนแผนที่ด้วย

Portal สามารถเกิดใหม่ได้เรื่อยๆ โดยผู้เล่นสามารถส่งคำร้องไปยังทีม NianticLabs ได้ด้วย ซึ่งจะยังไม่กล่าวถึงในบทความนี้

ตำแหน่งของ Portal ส่วนใหญ่เป็นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่กลางแจ้ง เช่น รูปปั้น (เหมือนกับในเทรลเลอร์) ตัวอย่าง Portal ในกรุงเทพได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พระบรมรูปทรงม้า เซ็นทรัลเวิลด์ วัดพระแก้ว สถานี MRT รูปปั้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น

ดังนั้นกระบวนการเล่น Ingress โดยส่วนใหญ่คือค้นหา Portal จากแผนที่ Intel จากนั้นจึงลงพื้นที่จริงเพื่อปฏิบัติการบางอย่างกับ Portal นั้นผ่านมือถืออีกทีหนึ่ง

ทำอะไรกับ Portal ได้บ้าง

เมื่อเราเข้าใกล้ตำแหน่งของ Portal ถึงระดับหนึ่ง เราจะเห็นไอคอนของ Portal โผล่ขึ้นมาบนแผนที่ (ต้องต่อเน็ตด้วยนะครับ) สิ่งที่เราต้องทำคือเคลื่อนย้ายตัวเองให้รัศมีวงสีฟ้าของเราซ้อนทับกับ Portal อันนั้น

ingress-self

จากนั้นคลิกค้างที่ Portal ที่ต้องการ เลือก Target (จับเป้า) จะเข้าสู่หน้ารายละเอียดของ Portal ครับ

ingress-portal

Hack Portal

ปฏิบัติการขั้นพื้นฐานที่สุดคือการ “แฮ็ก” หรือเทียบได้กับการเข้าไปรื้อค้นใน Portal อันนั้นๆ โดยเราอาจได้ไอเทมที่อยู่ใน Portal นั้นด้วย

เกมนี้ไอเทมเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นผู้เล่นใหม่ที่ช่วงแรกๆ ยังไม่มีไอเทมติดตัว จำเป็นต้องเดินหา Portal แล้ว “แฮ็ก” ไปเรื่อยๆ (ทำอย่างอื่นไม่ได้) เพื่อสะสมไอเทมเสียก่อน การแฮ็ก Portal ฝ่ายเดียวกันมีโอกาสได้ไอเทมสูงกว่า แต่การแฮ็ก Portal ฝ่ายตรงข้ามจะช่วยเพิ่มค่า AP ให้เราเก็บเลเวล (แฮ็กฝ่ายเดียวกันไม่ได้ AP)

การเล่น Ingress ส่วนใหญ่จึงลงเอยด้วยการหาตำแหน่งของ Portal ที่เราผ่านบ่อยๆ เมื่อเข้าใกล้แล้วก็ “แฮ็ก” ไว้ก่อนเสมอ

การแฮ็กมีระยะเวลาจำกัด โดยเฉลี่ยเราสามารถแฮ็กได้ 1 ครั้งทุก 5 นาที (อาจมากกว่าหรือน้อยกว่า) ถ้าเราแฮ็กซ้ำภายในระยะเวลาที่กำหนด จะได้รับคำเตือนว่า Portal ยังร้อนต้องรอเวลา Cool Down

Resonator

Portal เทียบได้กับ ฐาน/ป้อม ที่แต่ละฝ่ายสามารถใช้งานได้

การใช้งาน Portal จำเป็นต้องมี Resonator หรือว่า “เตาพลังงาน” เพื่อให้ Portal ทำงานได้ด้วยตัวมันเอง ซึ่ง Portal หนึ่งอันมีเตาพลังงานได้ 8 อัน

จากภาพข้างบนจะเห็นแถบสีฟ้า 6 อัน แสดงให้เห็นว่า Portal อันนี้ถูกติดตั้ง Resonator ไปแล้ว 6 อัน ยังขาดอีก 2 อัน (แถบสีดำที่เหลืออยู่ สังเกตดีๆ) ที่ต้องติดตั้งให้ครบ

เมื่อผู้เล่นเจอ Portal ว่างที่ยังไม่ถูกฝ่ายใดยึดครอง จึงจำเป็นต้องหา Resonator (เป็นไอเทมที่ได้จากการแฮ็ก) มาใส่ให้ครบ 8 เพื่อให้ Portal ทำงานได้ การติดตั้งเรียกว่า Deploy ตามเมนูข้างบนในภาพ

Resonator แต่ละอันต้องบรรจุ “พลังงาน” หรือ XM ด้วย ซึ่งพลังงานจะลดลงเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจึงต้องหมั่นมาเติมพลังงาน (Recharge ตามเมนู)

การยึดครอง Portal

ถ้าหากเราเจอ Portal ของฝ่ายตรงข้าม เป้าหมายคือการยึดครองมาเป็นฝ่ายของเรา วิธีการคือต้องหา “ระเบิด” หรือในเกมเรียกว่า XMP Burster (เป็นไอเทมที่ได้จากการแฮ็กเช่นกัน) มายิงใส่ Portal เพื่อทำลาย Resonator ที่ฝ่ายตรงข้ามมาติดตั้งเอาไว้ ให้เหลือแต่ Portal เปล่าๆ เพื่อเราสามารถยึดมาเป็นของฝ่ายเราได้

การยิง XMP Burster จะทำลายพลังงานของ Resonator ไปจำนวนหนึ่งเท่านั้น (ขึ้นกับเลเวลของไอเทม) ดังนั้นการยึดครอง Portal อาจจำเป็นต้องระดมผู้เล่นฝ่ายเดียวกันมาหลายๆ คนมาปฏิบัติการพร้อมกันหรือในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน

การป้องกัน Portal

ฝ่ายที่ยึดครอง Portal ได้แล้วก็จำเป็นต้องป้องกัน Portal ไว้ให้นานที่สุด โดยขยันเติม XM ให้เต็มไว้ไม่ให้พร่อง และในเกมยังมีไอเทมชื่อ Shield ใช้เป็นโล่ป้องกันการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามได้อีกหนึ่งชั้น (Portal หนึ่งอันใส่ได้ 4 Shield)

ไอเทมพื้นฐานทั้ง 3 อย่างคือ Resonator, XMP Burster, Shield มีเลเวลของไอเทมด้วย ซึ่งมีผลต่อค่าพลังการโจมตี-ป้องกัน

การเติม XM ก็อย่างที่เขียนไปข้างต้นว่าต้องเดินทางไปที่ Portal แล้วใช้คำสั่ง Recharge (โอนพลังงาน XM ของตัวเราให้ Portal นั้นๆ) แต่ตัวเกมก็มีวิธีการอำนวยความสะดวกให้เราสามารถเติมพลังงานจากระยะไกลได้ โดยใช้ไอเทมชื่อ Portal Key

การเก็บ Portal Key ได้มาจากการแฮ็ก Portal เช่นกัน (โอกาสได้จะน้อยหน่อย) โดย Portal Key จะผูกกับ Portal อันนั้นๆ ใช้ร่วมกับ Portal อื่นไม่ได้เลย

ถ้าเราโชคดีได้ Portal Key มาอยู่ในรายการไอเทมของเรา เราสามารถรีโมทไปยัง Portal อันนั้นเพื่อชาร์จพลังงานจากระยะไกลได้โดยตรง ช่วยให้การป้องกัน Portal ง่ายขึ้นมาก

Link และ Control Field

เมื่อเรายึด Portal ได้แล้ว เป้าหมายขั้นต่อไปคือการเชื่อม Portal เข้าด้วยกัน

  • เชื่อม 2 Portal จะสร้างเส้นเชื่อมที่เรียกว่า Link
  • เมื่อสร้าง Link ได้สามเส้น จะเกิดสนามพลังที่เรียก Control Field

การสร้าง Link จำเป็นต้องมีไอเทม Portal Key ของ Portal ปลายทางที่ต้องการทำ Link ด้วย

Passcode

ที่เขียนไปข้างต้นเป็นปฏิบัติการพื้นฐานของ Ingress ที่ครอบคลุมกระบวนการส่วนใหญ่ในเกมแล้ว นอกจากนี้ทางผู้สร้างเกมคือ NiaticLabs ยังแจกไอเทม-สิ่งของในเกมทุกวัน โดยอยู่ในรูปของ clue หรือร่องรอยของเนื้อเรื่อง (ในเกม)

ทุกวันทาง เว็บ Niantic Project และ +Niantic Project จะโพสต์ภาพเอกสารแสดง “ความลับ” ต่างๆ (ตามเนื้อเรื่องของเกม) ซึ่งผู้เล่นจะต้องเข้าไปหาความหมายของเอกสารนั้นๆ แล้วถอดรหัสออกมาเป็นโค้ดที่มักอยู่ในรูป 2te3wavez4y2p

เมื่อได้โค้ดแล้ว ผู้เล่นสามารถกรอกในช่อง Passcode ที่อยู่ในแอพ (หน้า Ops) หรืออยู่ในแผนที่ Intel ก็ได้ ถ้าโค้ดถูกต้องและยังไม่ถูกใช้งานเกินจำนวนที่กำหนดไว้ เราจะได้ไอเทมหรือค่า AP เป็นการตอบแทน

เท่าที่ผมลองติดตามมา การถอดรหัสเข้าขั้นยากมาก (อารมณ์ DaVinci Code) บางครั้งอาจต้องหาข้อความที่ซ่อนไว้ในภาพ หรืออ่านค่า EXIF ของภาพมาถอดรหัสด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีกลุ่มผู้เล่นรวมตัวกันเพื่อถอดรหัสมาเผยแพร่ต่อ ลองติดตามได้จาก +Decode Ingress ได้ครับ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

คู่มือนี้น่าจะช่วยให้การเริ่มต้นกับ Ingress ง่ายขึ้น แต่ตัวเกมยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกพอสมควร สามารถอ่านเพิ่มได้จาก

  • Ingress Help คู่มืออย่างเป็นทางการของกูเกิล
  • Ingress Field Guide
  • Ingress Wiki
  • Ingress Guide

นอกจากนี้ยังมีชุมชนผู้เล่น Ingress อีกมากมาย รวมตัวกันตามเครือข่ายสังคมต่างๆ เช่น Facebook/Google+/Twitter รวมถึงเว็บบอร์ดต่างๆ ด้วย (มีทั้งแบบแยกฝ่ายและไม่แยกฝ่าย)

  • Ingress Discussion บอร์ดอย่างเป็นทางการบน Google Groups
  • G+ Ingress Community Official Google+ Community
  • Facebook Ingress Thailand
  • Facebook Thailand Ingress Game
  • G+ Ingress Enlightened Thailand
  • G+ Ingress Resistance Thailand

ขอให้สนุกกับ Ingress ครับ (สำหรับคนที่ยังไม่ได้ invite ก็ขอให้ได้โดยเร็ว)

เพิ่มเติมส่วนตัว

ส่วนตัวผมมองว่า เกมนี้มันเหมือนเป็นโปรเจคสำหรับอะไรซักอย่างในอนาคตแน่ๆน่ะ หรืออย่างน้อยสุด ก็เป็นตัวเร่งให้ผู้คนส่งข้อมูลคุณภาพดีจำนวนมหาศาลมาให้ google พัฒนาระบบแผนที่ โผยคนที่ส่งเข้ามาก็จะได้รางวัลเป็น portal เอาไว้ยึดกัน ซึ่งวิธีการก็ง่ายแค่อัพโหลดรูปภาพพร้อมพิกัด gps ส่งให้ google เพื่อสร้างฐานข้อมูล

หรือสมมติถ้าเอามาใช้กับการโฆษณาล่ะ เช่นแบบ ถ้ายึด portal ตรงนี้ได้ แล้วมีชื่อว่าเป็นคนใส่ resonator จะได้ส่วนลดพิเศษจากร้านค้านี้ โดยที่ตำแหน่งของ portal ก็อยู่ที่ร้านค้า ฯลฯ

ผมได้ไล่อ่านความคิดเห็นของหลายๆคนบนเนต มีคนให้ความเห็นน่าสนใจว่า google เองอาจกำลังทำความเข้าใจพฤติกรรมการเดินทางเพื่อเล่นเกมนี้ก็ได้ เช่น พฤติกรรมการใช้ทางลัดต่างๆที่ปกติแล้วคนทำแผนที่ไม่สามารถรู้ได้เลยถ้าไม่ลงมาเดินจริงๆ  แต่อันนี้ก็เว่อไปหน่อยนะ ไม่น่าเป็นไปได้ 5555

สุดท้ายแล้วก็ยังไม่มีใครรู้ว่า google จะเอา Ingress ไปทำอะไรกันแน่ แต่ผมเดาว่ามันต้องเจ๋งแน่ๆ เลย 😀

Posted in: game Tagged: android, augmented reality, game, gaming, google, ingress, internet, location based, location based service, mk, mmorpg, smart phone, technology

เรื่องผีกับออฟฟิส

January 26, 2013 by norakaa

เรื่องผีนี่แม่งเป็นเรื่องประจำที่มีในทุกออฟฟิสเลยนะ อย่างออฟฟิสผมนี่เมื่อสองวันก่อนจู่ๆปริ๊นเต้อก็ดันปริ๊นเอกสารออกมาเองเป็นเอกสารเรียนภาษาจีน พนักงานก็งงเลย มองหน้ากันไปมา แล้วก็ถามกันว่าใครมีเอกสารตัวนี้มั้ย พอเช็คแล้วว่าไม่มีใครมี ทีนี้หลอนเลย เย็นนั้นรีบกลับบ้านกันไม่รอออฟฟิสปิดเลย 5555 เผอิญตอนนั้นผมแม่งอยู่ข้างนอกไง ไปประชุมกับลูกค้าอยู่ พอกลับมาตอนเย็นก่อนเลิกงานนี่ตกใจเลย พนักงานหายหมด ไอ้เราก็นึกว่าเกิดอะไรขึ้น เลยไปถามแผนกอื่นก็เลยทราบเรื่อง

ทีนี้มันเริ่มตลกตรงที่ว่า วันต่อมามีพนักงานคนนึงในแผนกบอกว่า เมื่อคืนเข้าฝันว่ามีเจ้าที่มาเข้าฝันว่าจัดโต๊ะขวางทางเขา พอเป็นแบบนั้น พนักงานก็เลยจัดโต๊ะกันใหม่หมดอีก ย้ายไปย้ายมาให้มันหลบประตู 555

ผมเองตอนเช้าก็มาเช็คการเชื่อม network ในห้องดู พบว่า network ในออฟฟิสนี่เชื่อมกับอีกแผนกนึงชั้นล่างเพื่อแชร์เนตกัน โดยเชื่อมผ่าน switch ก็เลยคิดว่าแผนกข้างล่างนี่ต้องสั่งปริ๊นเอกสารแล้วเลือกปริ๊นเต้อผิดอันแน่ เพราะในบริษัทนี่ใช้รุ่นเดียวกันหลายตัวเลย ก็เลยเอาเอกสารที่สั่งปริ๊นมาลงไปเช็ค

ผลคือ ชัดเจน พนักงานข้างล่างสั่งปริ๊นแล้วดันเลือกปริ๊นเต้อผิด ไอ้เราก็เลยกลับขึ้นมาบอกให้พนักงานในแผนกได้รู้ แต่ก็ไม่ทันแล้ว แต่ละคนกลัวผีกันไปเรียบร้อยแล้ว ซวยเลย 555

ก็นะ พอคนเราเจออะไรที่อธิบายไม่ได้ก็เริ่มหลอน จิตตก สร้างจินตนาการกันไปเอง เสร็จแล้วก็เอาไปฝันเพื่อตอกย้ำความกลัวของตัวเอง แล้วก็วน loop ไปเรื่อยๆ แหม่ แย่จริมๆเบย 555

Posted in: Uncategorized Tagged: facebook, technology, ทำงาน, ผี, ออฟฟิส

Categories

Copyright © 2021 Norakaa.com.

Omega WordPress Theme by ThemeHall